เมนู

พุทธปูชานุญญาตานุญญาตปัญหา ที่ 5


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการถามอรรถปัญหาอื่นสืบไปว่า
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ประกอบด้วยปรีชาญาณ ภาสิตํ เจตํ สมเด็จพระบรม-
โลกุตตมาจารย์มีพระพุทธฎีกาโปรดประทานไว้ว่า อานนฺท ดูกรสำแดงอานนท์ ท่านทั้งหลาย
อพฺยาวตา อย่าทำขวนขวายที่จะหาของสักการบูชาตถาคตนี้เลย แล้วกลับตรัสว่า ดูกรสำแดง
อานนท์ ท่านทั้งหลายมีอุตสาหะของตถาคตผู้ควรที่จะบูชา เอวํ กรา เมื่อท่านสาธุ
สัตบุรุษมนุษย์เทวดาทั้งหลายมีอุตสาหะขวนขวายที่จะบูชาพระบรมธาตุของตถาคตตามคำสั่ง
ที่สั่งไว้ ท่านทั้งหลายเมื่อจะสิ้นชีวิตกระทำกาลกิริยาตาย ก็จะบ่ายหน้าไปบังเกิดในวรรค์
นี่แหละพระพุทธฎีกาเป็นสองไม่ต้องกัน ครั้นจะเชื่อเอาคำทีหลังที่ว่าให้อุตสาหะบูชาพระบรม-
ธาตุของพระองค์นั้น คำเดิมที่พระองค์ตรัสไว้ไม่ให้ขวนขวายบูชากายพระองค์ก็จะผิดเป็น
มิจฉา ครั้นว่าจะเชื่อเอาคำพระพุทธฎีกาเดิมไม่ให้ขวนขวายบูชากายพระองค์นี้ พระพุทธ-
ฎีกาภายหลังที่ทรงสั่งไว้ให้บูชาพระธาตุก็จะผิด อยํ ปญฺโห อันว่าปัญหานี้ อุภโต โกฏิโก เป็น
อุภโตโกฏิ นิมนต์โปรดวิสัชนา เพื่อระงับเสียซึ่งคำปรับปวาททั้งหลายในกาลบัดนี้
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจารวิสัชนาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จ
พระบรมโลกุตตมาจารย์เจ้ามีพระพุทธฎีกาตรัสว่า อานนฺท ดูกรสำแดงอานนท์ ท่านทั้งหลาย
อย่าทำขวนขวายที่จะสักกาบูชาพระสรีระของตถาคตเลย แล้วกลับตรัสว่า ดูกรสำแดงอานนท์
ท่านทั้งหลาย จงกระทำสักการบูชาพระธาตุของตถาคต ผู้ควรที่จะสักการบูชา เอวํ กรา ท่าน
ทั้งหลายกระทำตามคำตถาคตสั่งดังนี้ ครั้นสิ้นชีวิตอินทรีย์ ก็จะไปบังเกิดเสวยรมย์ชมทิพย์
สมบัติอันมโหฬาริกภาพดังนี้ มหาราช ขอถวายพระพร พระพุทธฎีกาของสมเด็จพระบรม-
โลกุตตมาจารย์จะเป็นสองไม่ต้องกันหาบ่มิได้ และข้อซึ่งตรัสว่าไม่ให้สักการบูชาพระสรีรกาย
ของพระองค์นั้น พระองค์ห้ามแต่บรรพชิตทั้งหลายมิให้กระทำสักกาบูชา ด้วยเหตุว่าบรรพ-
ชิตมีกิจที่จะพิจารณาสังขาร กระทำโยนิโสมนสิการให้เป็นเป็นทกขัง อนิจจัง อนัตตา และเจริญ
ซึ่งสติปัฏฐานานุปัสสนา อันควรที่จะประกอบให้เป็นประโยชน์แก่ตน ผจญเสียซึ่งกิเลสทั้งหลาย
นี่แหละเป็นกิจอันบรรพชิตพึงกระทำ จึงสมควรที่จะปฏิบัติ พระสัพพัญญูเจ้าจึงบัญญติมิให้
พระภิกษุกระทำสักกาบูชาพระสรีรกายของพระองค์เจ้า การกระทำสักกาบูชาสรีรกายของ
พระองค์นั้น ควรที่เทวดามนุษย์ปุถุชนจะพึงกระทำเท่านั้น มหาราช ขอถวายพระพร เปรียบ
ปานประดุจราชบุตรทั้งหลาย ควรที่จะเรียนศิลปศาสตร์ฝ่ายราชกุมารมีประการต่าง ๆคือ หัด
ขี่ช้าง ขี่ม้า ชักรถ เรียนยิงธนู เพลงหอก เพลงดาบ เรียนเลข เรียนนับด้วยข้อมือ และมนต์
สำหรับกันอาวุธศัสตรา เรียนรู้ภาษานกกา ให้รู้จักข่าวดีข่าวร้าย รบพุ่งทั้งหลายมีประการ

ต่าง ๆ นานา นี่แหละเป็นกิริยาที่ราชบุตรทั้งหลายจะพึงขวนขวายกระทำ กรรมอันอื่นคือกระ
ทำกสิกรรม และพาณิชกรรมการงายถากไร่ไถนาและทำเรือกสวนเลี้ยงวัวคลาย การอันนี้บ่มิได้
ควรแก่ราชบุตรทั้งหลาย การซื้อการขายการไร่การนาการรักษาวัวควายนี้ ควรแก่คนทั้งหลาย
คือ เพ่งค้าชาวนาเป็นบุคคลพลเมืองชั้นต่ำ จะพึงกระทำตามเพศตามกระกูลของอาตมา ยถา
มีครุวนาฉันใด มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ พุทธบูชานี้ไม่ควรที่ชินบุตรจะพึงกระทำใน
พระศาสนา ควรที่จะพิจารณาซึ่งสังขารธรรมจำเริญพระสติปัฏฐานอนุปัสสนา ควรที่จะพึง
ประกอบประโยชน์แห่งตน เพื่อจะผจญเสียซึ่งกิเลสให้กำจัดจากจิตมิให้มีราศีอยู่ในวิถีจิต
ทางปฏิบัตินี้ควรที่บรรพชิตจะพึงกระทำ จึงจะสมควรแก่ตัวเป็นชินบุตรเป็นพุทธบุตร มีอุปไมย
ฉันนั้น การพุทธบูชานี้สมควรแก่เทวดาและมนุษย์ปุถุชนจะพึงกระทำ ดังถ้อยคำที่ชักอุปมามา
แล้วนั้น
มหาราช ขอถวายพระพร ประการหนึ่งเปรียบปานดุจวิชาการและไตรเวทวิชาการทั้ง
หลาย คือ อุรุเวทสามเวท รู้ภาษาสัตว์ ยชุเวท รู้บูชายัญ อาถพฺพเวก รู้ผูกแก้อาถรรพ์ ลกฺขณํ
รู้ทายลักขณะ อิติหาสํ รู้ทิศนั่งกินข้าวและทิศจะถ่ายอุจจาระปัสสาวะ รู้จักทิศสารพัดกระทำ
ให้ถูกทิศ ปุราณํ รู้ที่แต่ก่อนว่าที่นี้เป็นที่บ้านเก่าเมืองเก่า จะประกอบอย่างนั้นจึงจะชอบ
กระทำอย่างนี้จึงจะควรอยู่ได้ นิฆณฺฑํ รู้จักกบิลไม้ เกตุภํ เรียนกิริยาอากัปแห่งมนุษย์นิกร อกฺ-
ขรปฺปเภทํ
รู้จักประเภทอักษรทุกตัวอักษร ปทํ รู้บท พฺยากรณํ รู้คัมภีร์พยากรณ์ ภาสนมตฺตํ
รู้จักที่จะประมาณ กล่าวคือสัตว์ร้อง อุปฺปาทํ รู้ว่าสิ่งนั้น ๆ จะอุปบัติขึ้น ฉฬงฺคํ รู้จักองค์วิชชา
6 จนฺทคาหํ สุริยคาหํ รู้ว่าจะเป็นจันทร์เป็นสูรย์จับทิศนั้นดี จับทิศนั้นร้าย สุกฺกราหุจริตํ
รู้จักราหูจรและพระศุกร์เทวดาผู้ใหญ่อันเที่ยวอยู่ อุฬุคฺคหยุทฺธํ เทวทุภิสฺสรํ รู้ว่าดาวเข้าใน
วงเดือนจะเกิดเทวยุทธสงคราม โอกฺกนฺติ อุกฺกาปาตํ รู้วิชาดูพระเกตุตกและอุกลาบาต
เปลวเพลิงตกลงมาแต่อากาศ อุกลาบาตนั้นลุกลอยขึ้นมาจากดินดุจพลุอันจะบอกเหตุอันร้าย
ภูมิกมฺมํ รู้จักดูแผ่นดินอันพิกล ทิสาทาหํ รู้จักฟ้าแดงทิศนั้นเป็นมงคล ทิศนั้นเป็นอวมงคล
ภูมนฺตลิกฺขํ รู้จักท้องฟ้าอากาศ โชติสรํ รู้จักโชติสรอันลุกสว่างไปเอง โลกายติกํ รู้จักคัมภีร์
โลกายัต สาวกํ รู้จักยามสามตา มิตฺตจกฺฏํ รู้ดูมิตจักร สุปินํ รู้จักลักษณะหลับ นิมิตฺตํ รู้จัก
นิมิต ฝันดีฝันร้าย รู้จักทำนายร้ายและดี อนฺตรจกฺกํ รู้ดูชะตา มิสฺสกุมฺปาทํ รู้จักว่าอย่างนี้เป็น
มิสสกอุบาทว์เจือจาน รวิภูสิกฺขํ สกุณรุทฺทํ รู้จักเสียงนกร้องร้ายดี ไตรเวทวิชาการทั้งปวงนี้
โลกนับถือว่าเป็นวิทยาอันดี สิกฺขากรณียา สมควรที่มาณพเหล่ากอพราหมณ์พรหมวงศ์จะพึง
กระทำวิธีพากเพียรร่ำเรียนไว้สำหรับอาตมา คนพลเมืองชาวประชาชั้นต่ำจะควรพากเพียร
เรียนกระทำนั้นหาบ่มิได้ ชอบแต่จะเรียนถากไร่ไถนาค้าขาย เลี้ยงวัวควายขวนขวายขี่ขับให้
คล่องแคล่ว ตามกำลังตามโคตรตามตระกูลของอาตมา ยถา ความข้อนี้มีอุปมาฉันใด อกมฺมญฺจ

อันว่าใช่การของพระชินบุตรทั้งหลายที่จะกระทำสักการบูชาเป็นพุทธบูชา ควรแต่จะพิจารณา
ซึ่งสังขารให้เห็นเป็นพระทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เป็นอนุปัสสนารำพึงไปในพระสติปัฏฐาน โยนิ
โสมนสิการกำหนด ให้เห็นคุณและโทษ อุตส่าห์เพียงเรียนคันถธุระวิปัสสนาธุระเป็นประโยชน์
แห่งตน ขวนขวายที่จะผจญเสียซึ่งกิเลสทั้งหลาย การที่กระทำสักการบูชาอันพุทธบุตรกระทำนี้
เป็นการชอบที่จะกระทำ อันกระทำเป็นพุทธบูชา นี้สมควรจะกระทำแต่เทวดาและมนุษย์ปุถุชน
อันพระชินบุตรบรรพชิตชอบกิจแต่จะเรียนเมตตาภาวนา เสมือนหนึ่งว่าพราหมณ์มาณพควรจะ
อุตส่าห์เล่าเรียนไตรเวทวิชาการ ฉะนั้น ที่ว่าขวนขวายกระทำสักกาบูชานั้น ชอบแต่เทพา
มนุษย์เหล่าฆราวาสทั้งหลายเปรียบดุจการอันทุรพล มีต้นว่ากสิกรรมและพาณิชกรรม กระทำ
ไร่นาค้าขายเลี้ยงวัวควายแพะม้าช้างทั้งปวงนี้ ชอบที่แต่พ่อค้าและชาวนาพึงกระทำนี้ และที่ว่า
เป็นอกรรมใช่การของบรรพชิตชินบุตรบวชในพระพุทธศาสนาจะกระทำสักกาบูชา ควรจะ
กระทำแต่เทพามนุษย์นิกรทั้งปวงนั้น เป็นเหตุด้วยสมเด็จพระบรมโลกนาถปรารถนาว่า พระ
ชินบุตรทั้งหลายนี้ไม่ควรที่จะประกอบบอกกรรม คือกระทำการสักการะพุทธบูชา ควรที่แต่จะ
ประกอบกรรมคือเรียนเจริญสมถวิปัสสนา ตสฺมา การณา เหตุการณ์ดังนั้น ตถาคโต เอวมาห
อันว่าสมเด็จพระสัพพัญญูพุทธพิชิตมาร จึงตรัสโปรดประทานพระพุทธฎีกาให้โอวาทไว้ว่า
อานนฺท ดูกรกนิฏฐอานนท์ ไม่ควรเลยที่สงฆ์ทั้งหลายจะขวนขวายกระทำสักกาบูชาแด่สรีระ
แห่งพระตถาคตทศพลพระมหากรุณา พระองค์ตรัสเทศนาสั่งไว้ดังนี้ เมื่อจะจรลีจากโลกลับดับ
สูญเข้าสู่ห้องแก้ว กล่าวแล้วคือพระอมตมหานิพพาน มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรผู้ปรีชา
ญาณอันประเสริฐ ยทฺ ตถาคโต น ภเณยฺย ผิแลว่า สมเด็จบรมโลกนาถศาสดาไม่ทรง
พระมหากรุณาตรัสเทศนาว่ากล่าว ห้ามปรามสั่งสอนไว้ดังนี้ ก็น่าที่พระชินบุตรบรรพชิต
ทั้งหลายนี้ จะมละเสียซึ่งจีวรและบาตรและเพศบรรพชิตกิจน้อยใหญ่ จะตั้งใจกระทำแต่การ
พุทธบูชาเป็นอามิส มิได้ประพฤติกิจเป็นปฏิบัติบูชา เหตุการณ์ดังนี้ จึงมีพระพุทธฎีกาตรัส
ห้ามปรามมิให้กระทำบูชา โปรดไว้ให้กระทำสักกาบูชาพระองค์แต่เทวดาและมนุษย์นิกรทั้ง
ปวงด้วยประการดังนี้
ราชา สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรบรมกษัตริย์ขิตติยวเรศ ได้ทรงฟังซึ่ง
ประพฤติเหตุแห่งปัญหา อันพระนาคเสนวิสัชนาแจ่มแจ้ง มิได้กินแหนงในข้อวิสัชนา มีน้ำพระ
ทัยโสมนัสชื่นบาน ตรัสสาธุการว่า สาธุ ๆ โยมรับเอาถ้อยคำของพระผู้เป็นเจ้าเหนือเกล้าของ
โยมในกาลบัดนี้
พุทธบูชานุญญาตานุญญาตปัญหา คำรบ 5 จบเพียงนี้

ภควโต ปาทปัปฏิกปติตปัญหา ที่ 6


ราชา

อันว่าสมเด็จบรมขัตติยาธิบดินทร์มิลินทราช มีสุนทรประภาษไต่ถาม
ซึ่งอรรถปัญหาอันอื่นสืบไปอีกเล่าว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนเจ้าผู้จำเริญ ตุมฺเห ภณถ
พระผู้เป็นเจ้าเจรจาไว้กับโยมว่า สมเด็จพระบรมโลกนาถเสด็จลีลาศดำเนินไปสู่คามเขตประเทศ
ตำบลใดก็ดี อยํ มหาปฐวี พื้นพิภพปฐพีที่ไสลลุ่มเป็นเลนหล่มประการใดก็ดี พื้นแผ่นดินนี้
สิหาจิตวิญญาณมิได้ เหมือนหนึ่งว่ามีจิตมีใจ ที่ไหนเป็นเลนลุ่มหล่มก็บริบูรณ์เต็มเสมอเหมือน
ถมลงใหม่ ๆ อุนฺนตํ ที่ไหนสูงโสดเป็นโคกโขดอยู่โดยแท้ ก็ปรวนแปรราบระรื่นเสมอเหมือน
ดังหน้ากลองชัยเภรี ปุน จ ปุรํ ครั้นมาครั้งนี้ทำไมเล่า ภณถ พระผู้เป็นเจ้ามาว่าไปใหม่อีก
เล่าว่า สะเก็ดก้อนศิลากระเด็นมากระทบพระบวรบาทแห่งสมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้า ไฉน
เล่าก้อนศิลาจึงไม่กระเด็นกลับไปยังที่ สะเก็ดศิลานี้ใช่ชาติปฐพีดอกหรือ จึงดึงดื้อกระเด็นมา
กระทบพระบวรบาทแห่งสมเด็จพระบรมโลกนาถน่าสงสัย ถ้าจะถือเอาคำหลังที่ว่าไว้ว่า
สะเก็ดศิลามากระทบพระบาทแห่งสมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้านั้น ยังมิได้สิ คำเดิมที่ว่าแผ่นดิน
หาจิตวิญญาณมิได้ ก็เสมือนหนึ่งว่ามีจิตวิญญาณ ถึงว่าจะลุ่มเลนหล่มก็บันดาลดอน ถึงจะสูง
เป็นแง่ชะง่อนก็เรียบราบเสมอเป็นอันดี เมื่อสมเด็จพระชินสีห์ทรงพระดำเนินไป คำอันนี้ก็ผิด
ก็ครั้นว่าจะเชื่อคำที่ว่า แผ่นปฐพีที่ลุ่มกลับเป็นดอน ที่สูงเป็นชะง่อนก็ราบเสมอเป็นอันดี เมื่อ
พระชินสีห์พุทธองค์ทรงพระดำเนินไปเหมือนหนึ่งว่าแผ่นพระธรณีมีจิจมีใจนี้เล่า คำหลังที่ว่า
สะเก็ดศิลามากระทบพระบาทแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าเข้า คำนี้เล่าก็ผิดเป็นมิจฉา อยํ ปญฺโห
อันว่าปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ ขอพระผู้เป็นเจ้าจงโปรดวิสัชนาให้แจ้งในกาลบัดนี้
เถโร อันว่าพระนาคเสนเถระ เมื่อจะชี้แจงสำแดงซึ่งอรรถปัญหา จึงมีเถรวาจาว่า มหา
ราช
ดูกรพระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐหาผู้เสมอมิได้ คำที่อาตมภาพถวายพระพรไว้ว่า อยํ
มหาปฐวี แผ่นพระธรณีอันใหญ่ อันหาเจตนามิได้นี้ แม้ว่าสมเด็จพระพุทธองค์เจ้าทรงพระดำเนิน
ไป ที่ไหนลุ่มก็เต็มบริบูรณ์ ที่ไหนพูนก็ราบดุจปราบไว้ด้วยเดชพระบารมี คำอันนี้อาตมา
ถวายพระพระไว้มิได้ผิด พระองค์อย่าทรงพระวิมัติสงสัย ข้อที่อาตมาถวายพระพร ไว้ว่าสะเก็ด
ศิลามากระทบพระบาทแห่งองค์สมเด็จพระพุทธเจ้า ก็จริงมิได้ผิด แต่ทว่าก้อนศิลาใช่ว่าจะ
กระทบกันเองแล้วและกระเด็นมาหามิได้ กระเด็นไปกระทบพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้านี้
ด้วยความเพียรของพระเทวทัต ถ้าว่าศิลากระเด็นมาโดยธรรมดาเองหาเหตุมิได้ ก็ไม่กระทบ
พระบาท จะโทษเอาคำที่ถวายพระพรไว้ก่อนว่าหาจริงไม่ ยังไม่ชอบก่อนมิใช่กระนั้น ศิลามา
กระทบพระบาทเสด็จพระมหากรุณา เพราะเหตุที่พระเทวทัตกระทำจัณฑาล มหาราช
ดูกรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ พระเทวทัตผูกเวรแก่สมเด็จพระพุทธเจ้ามา พหูมิ ชาติ-